วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์การฟฟิก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก - Presentation Transcript

  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
  2. ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
    • กราฟิก หมายถึง การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและขาว - ดำ ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจ ความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
    • คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มต้นมาจากการเป็น เทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูลตัวเลข จำนวนมาก ๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนกว่าเดิมและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น ข้อมูลอาจแสดงได้ ในรูปของเส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข จากนั้น การใช้ภาพกราฟิก แสดงผลแทนข้อมูลหรือข่าวสารที่ยุ่งยากก็มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิก ในงานทุก ๆ ด้าน ไม่ว่า ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และงานทางการแพทย์ จนเห็นได้ชัดเจนว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นเริ่มมีความ สำคัญ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานในการออกแบบทางด้านกราฟิกให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือจำนวนมาก อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของ ตนเองได้ทันที
  3. หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
    • สีมีความสำคัญอย่างมากต่องานกราฟิก สีทำให้ภาพหรือสิ่งต่าง ๆ มีความสดใส สวยงามน่าสนใจ ในการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานกราฟิก ควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่ จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานกราฟิก ให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มาก ที่สุด
  4. การแสดงสีระบบ Additive
    • สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB หรือ แม่สี
    • รูปที่ 1.12 แสดงสีหลัก 3 สี
  5. ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์
    • ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) คือ ระบบ CMYK
    • แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจากการผสมของแม่สีสามสี คือ
    • แดง เขียวและน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ หากนำภาพดิจิตอลที่ทำจาก คอมพิวเตอร์ไปแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ ภาพสีหรือเป็นฟิล์มสไลด์ จะได้สีที่ใกล้เคียงกับจอมอนิเตอร์ถ้านำไปใช้ทางการพิมพ์ เช่น หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สีสันจะผิดเพี้ยนไป เพราะทางการพิมพ์ใช้แม่สี ไซแอน มาเจนต้า และเหลือง (CMYK) ซึ่งผสมกันแล้วจะได้สีดำ นอกจากนี้ขอบเขตของสีก็ปรากฎแตกต่างกัน จอมอนิเตอร์สามารถแสดงสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี น้อยกว่าที่ตาคนเราสามารถมองเห็น ส่วนการพิมพ์อยู่ในระดับหมื่นสีเท่านั้น
  6. ประเภทและคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
    • 1. Windows Bitmap หรือ Bitmap File ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์
    • 2. FlashPix
    • 3. Graphic Interchange Format ไฟล์ที่ใช้กันมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    • 4. Interchang Format File/IFF Interleaved Bitmap Format
    นามสกุลที่ใช้เก็บ IFF/LBM ระบบปฏิบัติการ windows.Mac Windows ซอฟแวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงบิตแมปบนซีพีเช่น Photoshop, Deluxe Paint ความสามารถทางด้านสี ขาวดำเกรย์ สเกล 256 สีหรือ RGB 24 บิต
    • 5. GEM Bitmap Image
    • 6. Joint Photographic Experts Group ไฟล์ที่มีขนาดเล็ก นิยมใช้ในการสร้างเว็บ
    • 7. MacPaint
    • 8. Microsoft Paint
    • 9. Kodak’s Photo CD
    • 10. Z-Soft PC Paintbrush Format
    • 11. TrueVision Targa
    • 12. Tagged Image File Format ไฟล์ที่ใช้ในงานเกี่ยวกับโปรแกรมสิ่งพิมพ์
  7. ไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบเวกเตอร์
    • 1. Drawing Interchange Format
    • 2. Lotus 1-2-3 Picture
    • 3. Hewlett Packard Graphics Language
  8. ไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปและเวกเตอร์
    • 1. Computer Graphic Metafile
    • 2. Encapsulated PostScript
    • 3. PICT / Macintosh QuickDraw Picture Format
    • 4. Portable Document Format
    • 5. Windows Metafile
  9. การใช้โปรแกรมกราฟิกแบบ Rastor
  10. ความสามารถของโปรแกรม Adobe Photoshop
    • โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมใช้ในการสร้างภาพและตกแต่งภาพ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นิยมอย่างสูงสุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลงานที่ได้เหมาะที่จะใช้กับงานสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานมัลติมีเดีย คำว่า Photoshop คือ Photo แปลว่า “ ภาพ ” คำว่า Shop แปลว่า ร้านหรือแหล่งรวมของภาพหลายชนิด ภาพต่าง ๆ จะมีทั้งภาพที่เกิดจากการที่นำภาพที่มีอยู่เดิมมาตกแต่ง ภาพถ่ายในอัลบั้มรูป เราเรียกว่า Physical Graphic ภาพถ่ายที่ใช้เครื่องสแกนภาพหรือใช้กล้องดิจิตอลถ่ายเก็บไฟล์ข้อมูล เราเรียกว่า Digital Graphic
  11. ความสามารถของ Adobe Photoshop
    • 1. การทำงานเป็นเลเยอร์ (Layer) เหมือนการวางแผ่นใสซ้อน ๆ กัน
    • 2. การทำงานเป็นแบบ Interface Enchancement คือ ใช้ไอคอนและปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
    • ลักษณะการโต้ตอบเป็นแบบ 3 มิต คลิกปุ่มจะยุบลงไป
    • 3. การทำงานของปุ่มคำสั่งจะมีคำอธิบายสั้น ๆ ของไอคอนบอกชื่อเครื่องมือ เรียก Tool Tip
    • 4. Action เป็นการบันทึกขั้นตอนการทำงานเก็บไว้ ในกลุ่มเดียวกัน
    • 5. Ruler & Guide & Grid เส้นจาง ๆ ที่ลากผ่านรูป ช่วยจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ขอบภาพ
    • 6. Gradient Feature สามารถสร้างรูปแบบการไล่โทนสีได้ด้วยตัวเอง
    • 7. Adjustment Layer เป็นเลเยอร์ชั่วคราวสำหรับกำหนดพื้นที่และรูปแบบการปรับแต่ง
    • 8. Transformation Feature สามารถเปลี่ยนรูปทรงของภาพ หมุน ขยาย ให้มีมิติ
    • 9. Modified Image Size Command สามารถกำหนดขนาดไฟล์ภาพ ความละเอียด ความกว้างและความยาวของภาพได้พร้อม ๆ กัน
    • 10. Save For Web ไฟล์ภาพที่ใช้บนเว็บ ต้องมีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สามารถเรียกขึ้นมาใช้ งานได้เร็ว Photoshop
    • 11. การสนับสนุนการทำงานด้าน Web ด้วยโปรแกรม ImageReady เป็นโปรแกรมช่วยสนับสนุนการสร้างและออกแบบเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ต
    • 12. Slicing เทคนิคพิเศษช่วยแบ่งภาพออกเป็นส่วน ๆ เพื่อสร้างป้ายโฆษณาบนเว็บ (Banner)
    • และปุ่มกดสำหรับเป็นจุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซด์ต่าง ๆ
    • 13. Rollover ช่วยสร้าง Effect ที่เป็นลูกเล่นเมื่อเลื่อนตัวชี้เมาส์ผ่านปุ่ม
    • 14. Animation เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยอาศัยเทคนิคการนำภาพนิ่งหลายเฟรมมาเรียงต่อกัน
  12. การเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop
    • 1. คลิกปุ่ม Start คลิกรายการ
    • 2. คลิกรายการ Programs
    • 3. คลิกรายการ Adobe Photoshop 7.0 หรือ
    • 4. คลิกรายการ Adobe Photoshop CS
    • 5. รอสักครู่จะปรากฎหน้าต่างของโปรแกรม Adobe Photoshop 7.0 หรือ Adobe Photoshop CS
  13. ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop
  14. การใช้ปุ่มเครื่องมือ ToolBox จัดการเกี่ยวกับรูปภาพแบ่งได้ 4 หมวด
  15. ปุ่มเครื่องมือเพิ่มเติมใหม่ใน Photoshop CS V 8.0
  16. พาเลตต์ต่าง ๆ (Palettes) ในโปรแกรม Adobe Photoshop
    • Navigator ใช้สำหรับดูมุมมองของงาน
    • เหมือน Hand Tool และ Zoom Tool
    • Info ใช้สำหรับค่าสีของภาพ ณ จุดนั้น ๆ
    • บอกค่าสี RGB และ CMYK ใช้กับปุ่ม
    • Eyedropper
    • Histograms การใช้กราฟแสดงค่าสี
    • ที่กระจายอยู่ในรูปภาพ

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์           
    สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี  ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
           สื่อ หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
           พิมพ์ หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า             
           ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงหมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆด้วยวิธีการต่างๆอันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับ


ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
       สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
             - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้

สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
                - วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
                         - จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
                - สิ่งพิมพ์โฆษณา
                         - โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
                         - ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
                         - แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
                         - ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
 สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
 สิ่งพิมพ์มีค่า
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น
            สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฏิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
        สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้
             1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น
            2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้
ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น
             4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน
และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก,ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
              5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร